มรภ.เชียงราย เดินหน้าพัฒนาความสัมพันธ์และลงนามความร่วมมือ กับมหาวิทยาลัยในกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน

SDGs:

วันที่ 4-9 มีนาคม 2567 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย นำโดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ อุปนายกสภามหาวิทยาลัย ทำหน้าที่แทนนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรชัย มุ่งไธสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย พร้อมด้วยคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย คณะกรรมการสภาวิชาการ คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ (ก.พ.ว.) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย เดินทางไปยังกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อเจรจาความร่วมมือ พัฒนาความสัมพันธ์และลงนามความร่วมมือทางวิชาการในด้านต่างๆ กับมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาต่างๆ โดยประกอบด้วย

วันที่ 4 มีนาคม 2567 ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับ 北京语言大学 Beijing Language and Culture University มหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง โดยในการนี้ทั้งสองมหาวิทยาลัยได้เจรจาในด้านการส่งนักศึกษาแลกเปลี่ยนระยะสั้น หลักสูตร 2+2 ในระดับปริญญาตรี (Duo degree) และการฝึกอบรมระยะสั้นในรูปแบบต่างๆ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัย BLCU เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ด้านการสอนภาษาจีนเป็นภาษานานาชาติ และด้านการแปล และเป็นมหาวิทยาลัยที่พัฒนาระบบสอบวัดมาตรฐานภาษาจีน HSK ให้กับประเทศจีน เป็นเครื่องมือในการทดสอบมาตรฐานภาษาจีนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

วันที่ 5 มีนาคม 2567 ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับมหาวิทยาลัย BISU : Beijing International Studies University โดยมีแนวทางเกี่ยวกับความร่วมมือในหลักสูตรสาขาวิชาการท่องเที่ยว สาขาวิชาภาษาไทย และหลักสูตรภาษาจีน นอกจากนั้น ได้เจรจาความร่วมมือเกี่ยวกับรูปแบบความร่วมมือที่จะดำเนินการร่วมกันได้ ทั้งรูปแบบความร่วมมือแบบ 2+2 , 3+1 รวมถึงหลักสูตรระยะสั้น

วันที่ 6 มีนาคม 2567 ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับมหาวิทยาลัย North China University of Technology (NCUT) ในการวางแผนและเตรียมการสำหรับโครงการแลกเปลี่ยนบุคลากรสาขาวิชาทางด้านวิศวกรรมพลังงาน วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ รวมถึงการผลิตบัณฑิตร่วมกันในสาขาวิศวกรรมด้านต่างๆ ในรูปแบบหลักสูตร 2+2 , 3+1 รวมถึงหลักสูตรระยะสั้น

วันที่ 7 มีนาคม 2567 ร่วมเจรจาพัฒนาและขยายความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัย University of International Business and Economics (UIBE) โดยมหาวิทยาลัยนี้มีความโดดเด่นด้านการบริหารธุรกิจ การเงิน และเศรษฐศาสตร์ ซึ่งมีความร่วมมือกันในการแลกเปลี่ยนนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรระหว่างกันในสาขาดังกล่าว รวมถึงการพัฒนาหลักสูตรร่วมกันในอนาคต

วันที่ 8 มีนาคม 2567 ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับ Beijing Tongzhou Shuren Private School โดยโรงเรียนนี้จัดการเรียนการสอนมาแล้วเป็นเวลา 30 ปี จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษา โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทยที่ทำความร่วมมือต่อกัน และได้เสนอแนวทางการแลกเปลี่ยนในหลักสูตรระยะสั้น ในช่วงภาคเรียนฤดูร้อน โดยใช้ภาษาอังกฤษในการจัดการเรียนการสอน

วันที่ 9 มีนาคม 2567 ร่วมประชุมและลงนามความร่วมมือ กับ 7 สถาบันการศึกษาของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งประกอบไปด้วย 1. 沈阳工业大学 Shenyang University of Technology มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเสิ่นหยาง 2. 华北理工大学North China University of Science and Technology มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ธไชน่า 3. 秦皇岛市德润教育科技集团 Qinhuangdao Derun Education and Technology Group เกาะจิ๋นซี เต๋อหลุน การศึกษาและเทคโนโลยี กรุ๊ป 4. 山海关铁路技师学 Shanhaiguan Railway Technician College วิทยาลัยช่างเทคนิคการรถไฟ 5. 河北对外经贸职业学院Hebei Foreign Technical Institute of Economics and Business วิทยาลัยอาชีวศึกษาเศรษฐศาสตร์และธุรกิจระหว่างประเทศเหอเป่ย 6. 天津渤海职业技术学院 TIANJIN BOHAI VOCATIONAL TECHNOLOGY COLLEGE วิทยาลัยเทคนิคและอาชีวศึกษาโป๋ไห่เทียนจีน และ 7. 山东商贸高级技工学校 Shandong College of Economics and Business วิทยาลัยเทคนิคขั้นสูงและการค้าซานตง โดยทั้ง 7 สถาบันเตรียมพร้อมที่จะจัดส่งนักศึกษาชาวจีนไปศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ในหลักสูตรด้านวิศกรรมพลังงาน บริหารธุรกิจ การท่องเที่ยว และหลักสูตระยะสั้นอื่นๆ

SDGs:

ข่าวอื่น ๆ
1
2

อ่านต่อ